เมนู

10. อรัญญสูตร



[21] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้
ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
วรรณะของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในป่า
ฉันภัตอยู่หนเดียว เป็นสัตบุรุษผู้ประพฤติ
ธรรมอันประเสริฐ ย่อมผ่องใสด้วยเหตุ
อะไร.

[22] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ภิกษุทั้งหลายไม่เศร้าโศกถึงปัจจัยที่
ล่วงแล้ว ไม่ปรารถนาปัจจัยที่ยังมาไม่ถึง
เลี้ยงตนด้วยปัจจัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
วรรณะ(ของภิกษุทั้งหลายนั้น) ย่อมผ่องใส
ด้วยเหตุนั้น เพราะความปรารถนาถึง
ปัจจัยที่ยังไม่มาถึง และความโศกถึงปัจจัย
ที่ล่วงแล้ว พวกพาลภิกษุจึงซูบซีด
เหมือนต้นอ้อสดที่ถูกถอนเสียแล้ว ฉะนั้น

จบ นฬวรรค ที่ 1

อรรถกถาอรัญญสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 10 ต่อไป :-
บทว่า สนฺตานํ ได้แก่ ผู้มีกิเลสอันสงบระงับแล้ว อีกอย่างหนึ่ง
ได้แก่บัณฑิต. แม้บัณฑิตท่านก็เรียกว่า สัตบุรุษ เช่นในคำมีอาทิว่า สนฺโต
ทเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ
ดังนี้ก็มี. บทว่า
พฺรหฺมจารินํ แปลว่า ผู้พระพฤติธรรมอันประเสริฐ คือ ผู้อยู่ประพฤติมรรค
พรหมจรรย์. หลายบทว่า เกน วณฺโณ ปสีทติ ความว่า เทวดาทูลถามว่า
ผิวพรรณของภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมผ่องใส ด้วยเหตุอะไร. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร
เทวดานี้จึงทูลถามอย่างนี้. ตอบว่า ได้ยินว่า เทวดานี้เป็นภุมมเทวดาอาศัยอยู่
ในไพรสณฑ์เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ป่ากลับจากบิณฑบาตหลังภัตแล้วเข้าไป
สู่ป่า ถือเอาลักษณกรรมฐาน (กรรมฐานตามปกติวิปัสสนา) ในที่เป็นที่พัก
ในเวลากลางคืน และที่เป็นที่พักในเวลากลางวันเหล่านั้นนั่งลงแล้ว. ก็เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นนั่งด้วยกรรมฐานอย่างนี้แล้ว เอกัคคตาจิตซึ่งเป็นเครื่องชำระของ
ท่านก็เกิดขึ้น. ลำดับนั้น ความสืบต่อแห่งวิสภาคะก็เข้าไปสงบระงับ.
ความสืบต่อแห่งสภาคะหยั่งลงแล้ว จิตย่อมผ่องใส เมื่อจิตผ่องใสแล้ว โลหิต
ก็ผ่องใส. อุปาทารูปทั้งหลาย ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมบริสุทธิ์. วรรณะ
แห่งหน้า ย่อมเป็นราวกะสีแห่งผลตาลสุกที่หลุดจากขั้วฉะนั้น.
เทวดานั้น ครั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงดำริว่า ธรรมดาว่า สรีระ
วรรณะ (ผิวพรรณแห่งร่างกาย) นี้ ย่อมผ่องใสแก่บุคคลผู้ได้อยู่ซึ่งโภชนะ
ทั้งหลายอันสมบูรณ์มีรสอันประณีต ผู้มีที่อยู่อาศัยเครื่องปกปิด ที่นั่งที่นอนมี